วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

เตมีย์ชาดก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เตมีย์ชาดก
ระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้ากาสิกราช ครองเมืองชื่อว่า พาราณสี มีพระมเหสี พระนามว่า จันทรเทวี พระราชาไม่มีพระราชโอรสที่จะครองเมืองต่อจากพระองค์ จึงโปรดให้ พระนางจันทรเทวีทำพิธีขอพระโอรสจากเทพเจ้า พระนางจันทรเทวีจึงทรงอธิษฐานว่า 
"ข้าพเจ้าได้รักษาศีล บริสุทธิ์ตลอดมา ขอให้บุญกุศลนี้บันดาลให้ข้าพเจ้ามีโอรสเถิด" ด้วยอานุภาพแห่งศีลบริสุทธิ์ พระนางจันทรเทวีทรงครรภ์ และประสูติพระโอรสสมดังความปราถนา พระโอรส มีรูปโฉม งดงามยิ่งนัก ทั้งพระราชาพระมเหสี และประชาชนทั้งหลาย มีความยินดีเป็นที่สุด พระราชาจึงตั้งพระนามโอรสว่า เตมีย์ แปลว่า เป็นที่ยินดีของคนทั้งหลาย บรรดาพราหมณ์ผู้รู้วิชาทำนายลักษณะบุคคล ได้กราบทูล พระราชาว่า พระโอรสองค์นี้มีลักษณะประเสริฐ เมื่อเติบโตขึ้น จะได้เป็นพระ อ่านต่อ

เนมิราชชาดก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เนมิราชชาดก
ระราชาแห่งเมืองมิถิลา ทรงมีพระโอรสนามว่า เนมิกุมาร ผู้จะทรงสืบสมบัติในกรุงมิถิลาต่อไป พระเนมิกุมาร ทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในการบำเพ็ญทานมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงรักษาศีลอุโบสถ อย่างเคร่งครัด เมื่อพระบิดาทอดพระเนตรเห็นเส้นพระเกศาหงอก ก็ทรงรำพึงว่า บัดนี้ถึงเวลาที่จะมอบราชสมบัติให้ แก่โอรสแล้ว พระองค์เองก็จะได้เสด็จออกบำเพ็ญเพียรในทางธรรมต่อไป จึงทรงมอบราชสมบัติเมือง มิถิลาให้แก่พระเนมิราชกุมาร ขึ้นครองเป็นพระเจ้าเนมิราช ส่วนพระองค์เองก็เสด็จออกบวช รักษาศีลตราบจนสวรรคต
   เมื่อพระเจ้าเนมิราชครองราชสมบัติ โปรดให้สร้างโรงทาน อ่านต่อ

มหาชนกชาดก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มหาชนกชาดก
พระมหาชนก เป็นเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก อันเป็นชาดก 10 ชาติสุดท้ายก่อนที่พระโพธิสัตว์จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาดกเรื่องนี้เป็นการบำเพ็ญความเพียรเป็นบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎกและทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษตรงจากมหาชนกชาดก ตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังทรงแปลเป็นภาษาสันสกฤตประกอบอีกภาษา รวมทั้งแผนที่ฝีพระหัตถ์ แสดงสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเมืองโบราณบางแห่งและข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับทิศทางลม กับกำหนดวันเดินทะเลตลอดจนจุดอัปปางของเรืออับโชค ทรงคาดคะเนโดยอาศัยข้อมูลทางโหราศาสตร์ แสดงถึงพระปรีชาในด้านอักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์และโหราศาสตร์ไทย ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจน อ่านต่อ

เวสสันดรชาดก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เวสสันดรชาดก
ระเจ้าสญชัย ทรงครองราชสมบัติเมืองสีพี มีพระมเหสีทรงพระนามว่า พระนางผุสดี ธิดาพระเจ้ากรุงมัททราช พระนางผุสดีนี้ในชาติก่อนๆ ได้เคยถวายแก่นจันทน์หอม เป็นพุทธบูชาและอธิษฐานขอให้ได้เป็นพุทธมารดาพระพุทธเจ้าในกาลอนาคต ครั้นเมื่อนางสิ้นชีวิตก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก เมื่อถึงวาระที่จะต้องจุติมาเกิดในโลกมนุษย์ พระอินทร์ได้ประทานพรสิบประการแก่นาง ครั้นเมื่อพระนางผุสดีทรงครรภ์ใกล้กำหนดประสูติ พระนางปรารถนาไปเที่ยวชมตลาด ร้านค้า บังเอิญในขณะเสด็จประพาสนั้น พระนางทรงเจ็บครรภ์และประสูติพระโอรสในบริเวณย่านนั้น พระโอรสจึงทรงพระนามว่ อ่านต่อ

วิทูรชาดก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิทูรชาดก



นเมืองอินทปัตต์ แคว้นกุรุ พระราชาทรง พระนามว่า ธนัญชัย ทรงมีนักปราชญ์ประจำ ราชสำนักชื่อว่า วิธุร วิธุรเป็นผู้มีวาจาฉลาด หลักแหลม เมื่อจะกล่าวถ้อยคำสิ่งใด ก็สามารถ ทำให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสครัทธราและ ชื่นชมยินดีในถ้อยคำนั้น ในครั้งนั้น มีพราหมณ์อยู่ 4 คน เคยเป็นเพื่อน สนิทกันมาแต่เก่าก่อน ต่อมาพราหมณ์ทั้งสี่ ได้ออกบวช เป็นฤษีบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า หิมพานต์ และบางครั้งก็เข้ามาสั่งสอนธรรม แก่ผู้คนในเมืองบ้าง ครั้งหนึ่งมี เศรษฐี 4 คน ได้อัญเชิญฤาษีทั้งสี่ ไปที่บ้านของตน เมื่อ ฤาษีบริโภคอาหารแล้ว ได้เล่าให้เศรษฐีฟังถึง สมบัติในเมืองต่างๆทีตนได้เคยไปเยือนมา ฤาษีองค์หนึ่งเล่าถึงสมบัติของพระอินทร์ องค์ที่สองเล่าถึง สมบัติของพญานาค องค์ที่สาม เล่าถึงสมบัติพญาครุฑ และองค์สุดท้ายเล่าถึง สมบัติของพระราชาธนัญชัย แห่งเมืองอินทปัตต์ เศรษฐีทั้งสี่ได้ฟังคำพรรณนา ก็เกิดความ เลื่อมใสอยากจะได้สมบัติเช่นนั้นบ้าง ต่างก็ พยายามบำเพ็ญบุญ ให้ทาน รักษาศีลและอธิษฐาน ขอให้ได้ไปเกิดเป็นเจ้าขอสมบัติดังที่ต้องการ ด้วยอำนาจแห่งบุญ ทาน และศีล เมื่อสิ้น อายุแล้ว เศร อ่านต่อ

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นารทชาดก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นารทชาดก



ระราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า อังคติราช ครองเมืองมิถิลา เป็นผู้ที่ตั้งมั่นในทศพิธราชธรรม พระธิดาของพระเจ้าอังคติราชมีพระนามว่า รุจาราชกุมารี มีรูปโฉมงดงาม พระราชาทรง รักใคร่พระธิดา อย่างยิ่ง คืนวันหนึ่งเป็นเทศกาลมหรสพ ประชาชนพากัน ตกแต่งเคหสถานอย่างงดงาม พระเจ้าอังคติราช ประทับอยู่ท่ามกลางเหล่าอำมาตย์ในปราสาทใหญ่ ประดับประดาอย่างวิจิตรตระการ พระจันทร์กำลัง ทรงกลด เด่นอยู่กลางท้องฟ้า พระราชาทรงปรารภ กับหมู่อำมาตย์ว่า "ราตรีเช่นนี้น่ารื่นรมย์นัก เราจะทำอะไรให้ เพลิดเพลินดีหนอ" อลาตอำมาตย์ทูลว่า "ขอเดชะ ควรจะเตรียม กองทัพใหญ่ยกออกไปกวาดต้อนดินแดนน้อยใหญ่ ให้เข้า มาอยู่ในพระราชอำนาจพระเจ้าข้า" สุนามอำมาตย์ทูลว่า "ทุกประเทศใหญ่น้อยก็มา สวามิภักดิ์อยู่ในพระราชอำนาจหมดแล้ว ควรที่จะ จัดการ เลี้ยงดู  อ่านต่อ

จันทชาดก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จันทชาดก
นครั้งโบราณ เมืองพารานสี มีชื่อว่า บุปผวดี มีกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าเอกราชา พระราชบุตรองค์ใหญ่ พระนามว่า จันทกุมาร ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราช และ พราหมณ์ชื่อกัณฑหาล เป็นปุโรหิตในราชสำนัก กัณฑหาล มีหน้าที่ตัดสินคดีความอีกตำแหน่ง แต่กัณฑหาลเป็นคน ไม่ยุติธรรม ไม่ซื่อสัตย์ มักจะรับสินบนจากคู่ความอยู่เสมอ ข้างไหนให้สินบนมาก ก็จะตัดสินความเข้าข้างนั้น จนกระทั่งวันหนึ่ง ผู้ที่ได้รับความอยุติธรรมร้องโพนทนา โทษของกัณฑหาล ได้ยินไปถึงพระจันทกุมาร จึงตรัสถาม ว่าเกิดเรื่องอะไร บุคคลนั้นจึงทูลว่า "กัณฑหาลปุโรหิต มิได้เป็นผู้ทรงความยุติธรรม หากแต่รับสินบน ก่อความ อยุติธรรมให้เกิดขึ้นเนืองๆ" พระจันทกุมารตรัสว่า "อย่า กลัวไปเลย เราจะเป็นผู้ให้ ความยุติธรรมแก่เจ้า" แล้ว พระจันทกุมารก็ทรงพิจารณาความอีกครั้ง ตัดสินไปโดย ยุติธรรม เป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชนทั้งหลาย ฝูงชนจึง แซ่ซ้องสดุดีความยุติธรรมของพระจันทกุมาร พระเจ้าเอกราชาทรงได้ยินเสียงแซ่ซ้อง จึงตรัสถา อ่านต่อ

ภูริทัตชาดก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภูริทัตชาดก


พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภอุบาสกทั้งหลาย แล้วตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยํ กิญฺจิ รตนมตฺถิ ดังนี้. 
               ได้ยินว่า ในวันอุโบสถ อุบาสกเหล่านั้นอธิษฐานอุโบสถแต่เช้าตรู่ ถวายทาน. ภายหลังภัตต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปยังพระเชตวัน นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งเพื่อฟังธรรม. ก็ในกาลนั้น พระศาสดาเสด็จมายังธรรมสภา ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่เขาตบแต่งไว้ ตรวจดูภิกษุสงฆ์ ทรงทราบว่า ก็บรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ธรรมกถาตั้งขึ้นปรารภภิกษุเหล่าใด พระตถาคตทั้งหลายทรงเจรจาปราศัยกับภิกษุเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น วันนี้ ธรรมกถาที่เกี่ยวกับบุรพจริยา ตั้งขึ้นปรารภอุบาสกทั้งหลาย ดังนี้แล้ว จึงทรงเจรจาปราศัยกับอุบาสกเหล่านั้น แล้วตรัสถามว่า พวกเธอเป็นผู้รักษาอุโบสถหรือ อุบาสกทั้งหลาย. 
               เมื่ออุบาสกกราบทูลให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า ดีละ อุบาสกทั้งหลาย ก็ข้อที่พวกเธอ เมื่อได้พระพุทธเจ้าผู้เช่นเราเป็นผู้ให้โอวาท พึงกระทำอุโบสถ จัดว่าเธอกระทำกรรม อันงามไม่น่าอัศจรรย์เลย. แม้โปราณกบัณฑิต ผู้ไม่เอื้อเฟื้อละยศใหญ่ กระทำอุโบสถได้เหมือนกัน ดังนี้แล้ว. ได้ทรงเป็นผู้นิ่ง อันภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำอดีตนิทานมาว่า 

มโหสถชาดก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มโหสถชาดก
ในอดีตกาลมีพระราชานามว่า พระเจ้าวิเทหราช ซึ่งปกครองกรุงมิถิลาทรงมีบัณฑิตคู่พระทัยอยู่ 4 คนคือ เสณกะ, ปุกกุสะ, กามินทะ และเทวินทะ ในคืนหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชทรงพระสุบินประหลาดจึงโปรดให้ เสณกะ หัวหน้าบัณฑิตทำนายพระสุบิน ก็ทรงทราบว่าจะมีบัณฑิตคนที่ 5 ที่มีสติปัญญาล่วงเลยบัณฑิตทั้ง 4 ถือกำเนิดในมิถิลา

ขณะเดียวกันใน หมู่บ้านปาจีนยวมัชฌคาม พระโพธิสัตว์ได้ทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนา ภรรยาของสิริวัฒกเศรษฐี เมื่อผ่านไป 10 เดือนนางสุมนาก็ให้กำเนิดบุตรชายที่ได้ถือแท่งยาออกมา ทันทีที่คลอดเสร็จสิริวัฒกเศรษฐีก็ได้นำแท่งยาไปฝนกับหินบดยาแล้วนำมาทาที่หน้าผาก ปรากฏว่าอาการปวดหัวของท่านเศรษฐีก็หายเป็นปลิดทิ้ง ท่านเศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรชายว่า มโหสถกุมาร แปลว่า กุมารผู้มียาอันมีอานุภาพมาก
7 ปีผ่านไปพระเจ้าวิเทหราชทรงรำลึกได้ว่าเมื่อ 7 ปีก่อนทรงพระสุบินว่าจะมีบัณฑิตคนที่ 5 มาเกิดในยุคของพระองค์จึงโปรดให้มหาอำมาตย์ออกไปสังเกตการณ์ในทิศทั้ง 4 ของมิถิลาซึ่งในที่สุดก็มีมหาอำมาตย์ท่านหนึ่งมาถึงหมู่บ้านที่มโหสถกุมารอาศัยอยู่ก็ได้ยินกิตติศัพท์และชื่อเสียงของมโหสถจึงกลับไปทูลรายงานว่าพบบัณฑิตคนที่ 5 แล้วพระเจ้าวิเทหราชดีพระทัยหมายจะเรียกมโหสถเข้ามาเป็นบัณฑิตในราชสำนัก แต่ทรงถูกเ  อ่านต่อ

สุวรรณสามชาดก

      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สุวรรณสามชาดก




        สุวรรณสามชาดก (อ่านว่า: สุ-วัน-นะ-สาม-ชา-ดก) เป็นชีวประวัติเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก กล่าวถึงพระชาติของพระโคตมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นสุวรรรณสามดาบส ในการบำเพ็ญเมตตาบารมี  โดยสุวรรรณสามดาบสต้องรับภาระเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตาบอด วันหนึ่งพระเจ้ากบิลยักขราชแผลงศรมาถูกได้รับบาดเจ็บแสนสาหัส แต่ก็ไม่ได้โกรธ กลับแสดงเมตตาจิตต่อ และเทศนาทศพิธราชธรรมให้กบิลยักษ์ฟัง ด้วยอำนาจแห่งเมตตาธรรมทำให้พระสุวรรณสามหายเจ็บปวดรอดชีวิตมาได้ และบิดามารดาก็กลับมีจักษุดีสุวรรณสามชาดก ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกขุททนิกายชาดก มหานิบาต และอรรถกถา ซึ่งพระโคตมพุทธเจ้าตรัสเรื่อง  อ่านต่อ